แพทยสภาจัดการประชุมวิชาการชวนหมอรู้ ครั้งที่ 2/2566 “โฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์อย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัย”...

: 23 พ.ย 66     : แพทยสภา


แพทยสภาจัดการประชุมวิชาการชวนหมอรู้ ครั้งที่ 2/2566

“โฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์อย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัย”

..........................



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมวชิรเวช ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศร แพทยสภาจัด การประชุมวิชาการชวนหมอรู้ ครั้งที่ 2/2566 เรื่อง “โฆษณาที่เกี่ยวข้อง การแพทย์อย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัย” โดยมี พล.อ.ท. นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวรายงาน ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เป็นประธานในการเปิดการประชุม







พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ามีการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งการโฆษณาเฉพาะตัวของแพทย์เองหรือเป็นการดำเนิน การของสถานพยาบาล ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยว กับการแพทย์หรือด้านสุขภาพ ซึ่งมี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และแพทยสภา กำกับดูแล ในส่วนของแพทยสภา ได้มีการประกาศใช้ ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เกี่ยวกับผู้ดำเนิน การสถานพยาบาล พ.ศ. 2565 ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วย การรักษา จริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการแพทยสภา จึงจัดให้มี โครงการ "ชวนหมอรู้" เรื่อง โฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์อย่างไร ให้ถูกต้องปลอดภัย เพื่อเปิด โอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ที่เกี่ยวข้อง กับการโฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์ เพื่อให้โฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์ ที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของทุกๆ หน่วยงาน

.

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบัน มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพกันอย่างแพร่หลายและมีทั้งการโฆษณาเฉพาะตัวของแพทย์ และของสถานพยาบาล ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เหมาะสม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เป็นเหตุให้มีการร้องเรียนและถูกดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเพิ่มมากขึ้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานอัยการสูงสุด และแพทยสภา จึงได้จัด การประชุมวิชาการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงพร้อมทั้งรับฟังปัญหาาที่เกี่ยวข้อง"เป็นการชวนหมอรู้ เพื่อให้โฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์ให้ถูกต้องปลอดภัย

.

ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ อุปนายกแพทยสภา คนที่สอง กล่าวว่า การจัดประชุมวิซาการ "ชวนหมอรู้" ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างแพทยสภา และหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร จากสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และทีมกฎหมายของแพทยสภา จึงมีความสำคัญที่จะเป็นการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อลดปัญหาการร้องเรียน รวมทั้งมีโอกาสได้รับฟังข้อมูลจากเหตุการณ์หรือตัวอย่างของเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีการ หรือแนวทางการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ให้มีการโฆษณาที่เกี่ยวข้องการแพทย์ ให้ถูกต้องปลอดภัยต่อไป







ทั้งนี้วิทยากรมาร่วมบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับแพทยสภาที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา รวมกรณีตัวอย่าง โดย ผศ.นพ.ต่อ พลวัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา และ รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับการโฆษณาของผลิตภัณฑ์สุขภาพ และข้อพึงระวัง รวมกรณีตัวอย่าง โดย เภสัชกรอาทิตย์ พันเดช ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กฎ ระเบียบ ข้อบังคับการโฆษณาสถานพยาบาล อย่างถูกต้อง โดย นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีกับสถานพยาบาล โดย นายชาตรี พินใย ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข การลงโทษคดีทางอาญา แพ่ง เนื่องด้วยการโฆษณาของแพทย์ / พยาบาล โดย นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)







มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง On site และ ระบบ Online เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม บุคลากรทางการแพทย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาทางการแพทย์ ซึ่งท่านสามารถติดตามรับชมการบรรยายภายหลังได้จาก website แพทยสภา www.tmc.or.th หรือ You tube ช่อง แพทยสภา





















 



Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต