แพทยสภาแถลงข่าวกรณี “จริยธรรมและการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิด”...

: 04 ส.ค. 58     : ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แพทย์สภา


ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา และประธานคณะอนุกรรมการวิชาการและจริยธรรมการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาและการทำวิจัยในคน ด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา ได้ให้ข้อมูลในการแถลงข่าวกรณี“จริยธรรมและการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิด” ดังนี้

เทคโนโลยีการรักษาด้วยเซลล์บำบัดสมัยใหม่ที่ถูกต้องได้มาตรฐานเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ประเทศ สหรัฐ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในปลายศตวรรษที่ 20 หรือ ประมาณ 30 -40 ปีก่อน โดยแพทย์สหรัฐนำเนื้อเยื่อบางส่วนของผู้ป่วยหรือผู้บริจาค มาสกัดแยกเซลล์หรือสเต็มเซลล์ของมนุษย์ชนิดต่างๆ ทำการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวน หรือดัดแปลงคุณสมบัติบางอย่าง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคตามองค์ความรู้ใหม่ด้านเซลล์ชีวิวิทยาที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในปลายศตวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการใช้ ยา หรือ เครื่องมือแพทย์ รักษาโรค

แพทยสภาควบคุมการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาเป็นหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะควบคุมเฉพาะกระบวนการสกัดแยกเซลล์

คณะอนุกรรมการวิชาการและจริยธรรมการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาและการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภาได้พิจารณาไปแล้ว 28 เรื่องโครงการที่รับรอง

1) เป็นโครงการที่ดำเนินมาก่อนที่จะมีข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรม เรื่อง การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา พ.ศ. 2552
2) โครงการวิจัยก็ได้รับการพิจารณาและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ และคณะอนุกรรมการเรื่องที่ไม่พิจารณารับรองโดยคณะอนุกรรมการ

  1. บริษัทเอกชนขอดำเนินการเกี่ยวกับ เซลล์ต้นกำเนิดที่มิใช่แพทย์
  2. การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ไม่มีการใช้เซลล์ต้นกำเนิด
  3. การพิจารณาการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเป็นมาตรฐานการรักษา ไม่ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ
  4. โครงการที่ไม่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้เรียกมาพบและได้ให้คำแนะนำ เพื่อปกป้องผู้ป่วย ผู้วิจัยถอนเรื่องไปเอง

เรื่องโฆษณาเกินความจริง

1) การเก็บเซลล์อ้างว่าใช้เครื่องมือทันสมัยที่สุดและสามารถเก็บไว้ได้ตลอดชีวิต
2) รักษาด้วยวิธีอื่น แต่อ้างว่าเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเรียกลูกค้า
3) การรักษา

  • ทำการวิจัยแต่บอกว่าเป็นการรักษา เก็บเงินผู้ป่วย
  • รักษาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน ให้แล้วอาการปวดหายทันที
  • รักษาโรคที่อาจเป็นไปได้ แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นมาตรฐาน ยังอยู่ในช่วงการวิจัย
  • รักษาโรคที่หมดทางรักษา

4)โฆษณาว่ามีแพทย์ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมงในระยะนี้หากประชาชนที่มีความประสงค์จะรักษาด้วยเทคโนโลยีเซลล์บำบัดทางการแพทย์ โรคที่สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษานั้นจะเป็นเพียงโรคเลือดเท่านั้น ส่วนโรคอื่นยังอยู่ระหว่างการวิจัย และผู้ป่วยที่สิ้นหวังมักจะตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาเกินจริง สิ่งที่แพทยสภาเป็นห่วงคือ การโฆษณาเกินความเป็นจริง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาแบบเซลล์บำบัดที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล



Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต