แถลงข่าวแพทยสภา เปิดตัวคณะผู้บริหารแพทยสภา วาระใหม่ พ.ศ. 2560 – 2562
: 02 มี.ค. 60 : สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
วันที่ 2 มีนาคม 2560 เวลา 16.00 น. ภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา วาระใหม่ พ.ศ. 2560 – 2562 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล นายกแพทยสภา นำคณะผู้บริหารแพทยสภาชุดใหม่เปิดตัวพร้อมแถลงนโยบาย วิสัยทัศน์ และทิศทางการบริหารของนายกแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2560 - 2562 เพื่อมุ่งให้ แพทยสภา เป็นสภาวิชาชีพที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ภายใน พ.ศ. 2561
ซึ่งคณะผู้บริหารแพทยสภาชุดใหม่ ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา | นายกแพทยสภา |
ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณนายแพทย์อำนาจ กุสลานันท์ | อุปนายกแพทยสภา คนที่หนึ่ง |
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงประสบศรี อึ้งถาวร | อุปนายกแพทยสภา คนที่สอง |
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ | เลขาธิการแพทยสภา |
พลอากาศตรี นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ | รองเลขาธิการแพทยสภา |
นายแพทย์ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ | เหรัญญิกแพทยสภา |
พร้อมด้วย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิรัติ พาณิชย์พงษ์ | อนุกรรมการบริหาร |
นายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ | อนุกรรมการบริหาร |
แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา | อนุกรรมการบริหาร |
ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา | ที่ปรึกษา |
ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ | ที่ปรึกษา |
ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ | ที่ปรึกษา |
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ | ที่ปรึกษา |
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวว่า แพทยสภาเป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นตามพระ ราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2511 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน โดยที่วัตถุประสงค์ของแพทยสภาตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.25๒๕ มีดังนี้
โดยวัตถุประสงค์ทั้ง 6 ข้อ นี้ แพทยสภา มีหน้าที่ประสาน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ประชาชน แพทย์และ สถาบันทางการแพทย์ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดสมดุลภาพ ผู้บริหารแพทยสภาชุดนี้จึงมีความพร้อมในการนำแพทยสภาให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยต้องมีพัฒนา/ควบคุมมาตรฐาน และจริยธรรม การประกอบวิชาชีพเวชกรรม รวมทั้งคุ้มครองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างต่อเนื่องและมีดุลยภาพ ส่งเสริมการผลิตแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาต่อเนื่องและการวิจัยทางการแพทย์ให้พอเพียงเหมาะสมและมีคุณภาพ ให้ความคุ้มครองประชาชนและชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างบูรณาการและเป็นระบบ รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล/องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทันต่อสถานการณ์และมีระบบดูแลสุขภาพที่เชื่อถือได้ ด้วยเป้าหมายอันสูงสุดคือ ประชาชนมีสุขภาพดี
นอกจากนี้ นโยบายเร่งด่วนที่นายกแพทยสภา วาระนี้ต้องดำเนินการคือ การเสริมความไว้วางใจของสังคมและแพทย์ต่อแพทยสภา (Trust Building) โดยการลดช่องว่างระหว่างแพทย์กับแพทยสภา และสังคมกับแพทยสภา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างแพทย์และสังคม โดยต้องใช้การสื่อสารกับสื่อมวลชน เพื่อให้เข้าใจในบทบาท หน้าที่ และการทำงานของแพทยสภา จัดเวทีให้มีการสื่อสารโดยตรงระหว่างแพทยสภากับแพทย์ และแพทยสภากับสังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดกรณีข้อขัดแย้ง ที่สำคัญคือต้องประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับกิจกรรมของแพทยสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรทางการแพทย์ควบคู่กัน(Partnership Strengthening) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยจัดเวทีและการประชุมร่วมระหว่างแพทยสภาและแพทยสมาคม เพื่อดำเนินการร่วมกันให้แพทย์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล และจัดเวทีและการประชุมร่วมกับสถาบันผลิตแพทย์ ราชวิทยาลัย องค์กรวิชาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันยกระดับการดูแลสุขภาพ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อให้เกิดให้ความร่วมมืออย่างยั่งยืน รวมทั้งพิจารณาและประสานงานให้มีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการเชิงรุก เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ