ความเป็นมาของการวางพวงมาลาในวันมหิดล จาก อาจารย์ ม.ร.ว. จันทรนิวัทธ์ เกษมสันต์ อันน่าประทับใจ...

: 23 ก.ย. 59     : ประชาสัมพันธ์


วันมหิดล 24 กันยายน 2493

เวลา 08.00 น. นศพ.ปี 4 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ( รุ่น 56 ) เข้าแถวนำ นศพ. ปี 1- 3 เดินไปยังพระบรมรูปสมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งเพึ่งสร้างเสร็จ ที่ ถนนกลาง รพ.ศิริราช แล้วหยุดตรงหน้าพระบรมรูปตัวแทนคือ นศพ.จิรพรรณ สุกัณหเกตุ (มัธยมจันทร์) และ กำธร ศุขโรจน์ ถวายพวงมาลาแล้วอ่านสัททุลวิกกีฟิตฉันท์ด้วยทำนองเสนาะถวายสดุดี ไพเราะมาก ประพันธ์โดย นศพ.ภูเก็ต วาจานนท์ เป็นวันมหิดลวันแรกคิดขึ้นโดย นศพ.ปีที่ 4 ขณะนั้น.แต่ไม่เคยมีใครกล่าวถึงเลยว่าเป็นความคิดของพวกเรา

ที่มาคือ นศพ.ปีที่ 4 ขณะนั้นอันมี นศพ.บุญเริ่ม สิงหเนตร หัวหน้า นศพ.,ดอนเฉลิม พรมมาส หัวหน้าชั้น,ดวงเดือน คงศักดิ์รองวหน้า,และคนสำคัญคือ ภูเก็ต วาจานนท์ ที่ไปค้นคว้าว่าวันที่ 24 กันยายน เป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระราชบิดา เราควรจะถวายสักการะเชนเดียวกับวันที่ 23 ตุลาคม จึงได้จัดพิธีนี้ขึ้นและเชิญอาจารย์หัวหน้าแผนกทุกท่านมาร่วมงานแต่ไม่มีใครมานอกจากอาจารย์ สุด แสงวิเชียรคนเดียวที่มาร่วม

บัดนี้เพื่อนร่วมคิดได้จากไปหมดแล้ว นอกจาก อ.กำธร ศุขโรจน์ที่ไปตั้งรกรากที่อเมริกาไม่ได้ข่าวคราว พวกเรารู้สึกภาคภูมิใจมากจึงมาเล่าให้ฟัง น่าเสียดายที่คำฉันท์นั้นไม่มีใครเก็บไว้แต่ที่พิพิธภัณฑ์ศิริราชก็มีรูปพวกเราติดอยู่ข้างฝาโดยบังเอิญ



Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต