รับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการอบรม 2557 รอบที่ 2

: 04 พ.ย 56     : แพทยสภา


ประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา

ที่๓๐ /๒๕๕๖

เรื่อง  การรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๗

 

 

แพทยสภาจะดำเนินการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาต่างๆ ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๗ โดยมีกำหนดการและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

๑.         กำหนดเวลาการรับสมัคร

๑.๑      รอบที่

(ก)       รับสมัครผู้มีต้นสังกัดและไม่มีต้นสังกัด (อิสระ) 

(ข)       เปิดรับสมัคร วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน – ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ (เว้นวันหยุดราชการ)

หากส่งใบสมัครและเอกสารทางไปรษณีย์ จะต้องส่งด้วยบริการด่วนพิเศษ EMSภายในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ (ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

๑.๒      รอบที่

(ก)       รับสมัครผู้มีต้นสังกัดและไม่มีต้นสังกัด (อิสระ) 

(ข)       จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมในสาขาหนึ่งสาขาใดในรอบที่ ๑ แล้ว

(ค)       เปิดรับสมัคร วันที่ ๒๑ – ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ (เว้นวันหยุดราชการ)

หากส่งใบสมัครและเอกสารทางไปรษณีย์ จะต้องส่ง ด้วยบริการด่วนพิเศษ EMSภายในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ (ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

๒.         สาขาประเภทที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

๒.๑      สาขาประเภทที่หมายถึง สาขาขาดแคลน เป็นสาขาที่แพทยสภาต้องการส่งเสริมให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม  ผู้สมัครสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะฯปีและไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนก่อนได้แก่สาขาต่อไปนี้

(๑)       จิตเวชศาสตร์

(๒)       จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

(๓)       นิติเวชศาสตร์

(๔)       พยาธิวิทยากายวิภาค

(๕)       พยาธิวิทยาคลินิก

(๖)       พยาธิวิทยาทั่วไป

(๗)       รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

(๘)       เวชศาสตร์ครอบครัว

(๙)       เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

(๑๐)    เวชศาสตร์นิวเคลียร์

(๑๑)    อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

(๑๒)    อายุรศาสตร์โรคเลือด

 

 

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสาขาประเภทที่

ผู้สมัครจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว สามารถสมัครได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ผู้สมัครอิสระต้องไม่มีพันธะในการชดใช้ทุน ทั้งนี้ระยะเวลาในการฝึกอบรมไม่นับเป็นระยะเวลาในการปฏิบัติงานชดใช้ทุน

๒.๒      สาขาประเภทที่หมายถึง สาขาที่ผู้สมัครจะต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะปีและได้ปฏิบัติงาน/ ปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามจำนวนปีที่แพทยสภากำหนดได้แก่สาขาต่อไปนี้

(๑)       กุมารเวชศาสตร์

(๒)       กุมารศัลยศาสตร์

(๓)       จักษุวิทยา

(๔)       ตจวิทยา

(๕)       ประสาทวิทยา

(๖)       ประสาทศัลยศาสตร์

(๗)      โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

(๘)       รังสีวิทยาวินิจฉัย

(๙)       วิสัญญีวิทยา

(๑๐)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา)

(๑๑)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์การบิน)

(๑๒)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก)

(๑๓)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสาธารณสุขศาสตร์)

(๑๔)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสุขภาพจิตชุมชน)

(๑๕)    เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงอาชีวเวชศาสตร์)

(๑๖)   เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล)

(๑๗)    เวชศาสตร์ฟื้นฟู

(๑๘)    ศัลยศาสตร์

(๑๙)    ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

(๒๐)    ศัลยศาสตร์ทรวงอก

(๒๑)    ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

(๒๒)    สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

(๒๓)    โสต ศอ นาสิกวิทยา

(๒๔)    ออร์โธปิดิกส์

(๒๕)    อายุรศาสตร์

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสาขาประเภทที่

(๑)       ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ครบถ้วนแล้ว ยกเว้นสาขาที่กำหนดต่อไปนี้ ผู้สมัครจะต้องปฏิบัติงาน / ปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามระยะเวลาที่กำหนดดังต่อไปนี้ด้วย

(๑.๑)   ปฏิบัติงาน/ ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีกปีได้แก่ สาขาจักษุวิทยา

(๑.๒)   ปฏิบัติงาน /ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีกปีได้แก่ สาขาตจวิทยา ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

(๒)       ผู้สมัครที่ไม่มีต้นสังกัด (อิสระ) จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ และได้ปฏิบัติงาน / ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีก ๒ ปีแล้ว (ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา ๓ ปี) ยกเว้นสาขาต่อไปนี้ สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมได้ทันที เมื่อผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ และไม่มีภาระการชดใช้ทุนแล้ว ได้แก่ สาขาวิสัญญีวิทยา  รังสีวิทยาวินิจฉัย ศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทรวงอก ประสาทศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เวชศาสตร์ฟื้นฟู  โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

๒.๓      สาขาประเภทที่หมายถึง สาขาที่ผู้สมัครจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านในปีสุดท้ายหรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯในสาขาที่กำหนดเป็นสาขาหลักก่อนแล้ว ได้แก่อนุสาขาต่อไปนี้

(๑)       กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา

(๒)       กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

(๓)       กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา

(๔)       กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

(๕)       กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

(๖)       กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

(๗)       กุมารเวชศาสตร์โรคไต

(๘)       กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ

(๙)       กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

(๑๐)    กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ

(๑๑)    กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

(๑๒)   กุมารเวชศาสตร์โภชนาการ

(๑๓)   การระงับปวด

(๑๔)    ภาพวินิจฉัยชั้นสูง

(๑๕)    ภาพวินิจฉัยระบบประสาท

(๑๖)   โภชนศาสตร์คลินิก

                      (๑๗)   มะเร็งนรีเวชวิทยา

(๑๘)    รังสีร่วมรักษาของลำตัว

(๑๙)    รังสีร่วมรักษาระบบประสาท

(๒๐)    วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก

(๒๑)    วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท

(๒๒)   วิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก

(๒๓)    เวชบำบัดวิกฤต

(๒๔)    เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

(๒๕)    เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

(๒๖)   เวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

(๒๗)    ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า

(๒๘)    ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา

(๒๙)    ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

(๓๐)    ศัลยศาสตร์หลอดเลือด

(๓๑)    ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ

(๓๒)    อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม

(๓๓)    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

(๓๔)    อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

(๓๕)    อายุรศาสตร์โรคไต

(๓๖)    อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก

(๓๗)    อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

(๓๘)    อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

(๓๙)    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

(๔๐)   อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ

(๔๑)   พยาธิสูตินรีเวชวิทยา

(๔๒)   ตจพยาธิวิทยา

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสาขาประเภทที่

เป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือกำลังฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านตามโครงการของแพทยสภาในปีสุดท้าย หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ ในสาขาหลักของสาขาที่จะสมัครเข้าฝึกอบรมในปีการศึกษานั้น

๓.         จำนวนตำแหน่งและสถาบันฝึกอบรมที่เปิดรับสมัคร

จำนวนตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านของแต่ละสาขา และสถาบันฝึกอบรมที่เปิดรับสมัครสำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๗ปรากฏรายละเอียดตามตารางท้ายประกาศนี้

๔.         เงื่อนไขและวิธีการสมัคร

๔.๑      จำนวนสาขาที่สมัครได้

รอบที่       สมัครได้เพียงสาขาเดียว แต่อาจเลือกสถาบันได้มากกว่า ๑ แห่ง โดยต้องเรียงลำดับความต้องการสถาบันที่จะสมัครไว้ด้วย  หากยื่นใบสมัครเกินกว่าสาขาจะถูกตัดสิทธิ์ทุกสาขา

รอบที่     สมัครได้สองสาขา และสามารถเลือกสถาบันในแต่ละสาขาได้มากกว่า ๑ แห่ง โดยต้องเรียงลำดับความต้องการสถาบันที่จะสมัครไว้ด้วย   ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมทุกสาขาในรอบที่แล้วไม่มีสิทธิ์สมัครในรอบที่

๔.๒      ใบสมัคร

ให้ใช้ใบสมัครของแพทยสภาซึ่งได้จัดทำไว้ที่ website http://resident.tmc.or.th(จำเป็นต้องใช้ Internet Explorer ในการกรอกใบสมัครเท่านั้น) เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลของตนเองในโปรแกรมการสมัครครบถ้วนแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย และสั่งพิมพ์ใบสมัครซึ่งมี ๒ หน้าด้วยกระดาษขนาด A4 (พิมพ์แบบหน้าหลัง) จำนวนเท่ากับสถาบันฝึกอบรมที่เลือกสมัคร

๔.๓      วิธีสมัคร

(๑)       ยื่นใบสมัครที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร ๖ ชั้น ๗ ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบลตลาดขวัญ   อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี   ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๕๙๐-๑๘๘๐ ,๐๘๙-๗๖๓-๕๗๗๔

(๒)       ผู้ที่มีต้นสังกัด    หากต้นสังกัดรับเป็นผู้ดำเนินการสมัครให้ ให้สมัครผ่านต้นสังกัด   และให้ต้นสังกัดจัดส่งใบสมัครไปยังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ในกรณีที่ต้นสังกัดมิได้เป็นผู้ดำเนินการสมัครให้ผู้สมัครต้องดำเนินการสมัครด้วยตนเอง  สำหรับผู้สมัครอื่นๆ  ให้สมัครโดยตรงที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา

หากส่งใบสมัครและเอกสารทางไปรษณีย์รอบที่จะต้องส่งภายในวันที่๑๓ธันวาคม..๒๕๕๖และรอบที่จะต้องส่งภายในวันที่๒๕มกราคม..๒๕๕๗(ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

๔.๔      เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการสมัคร

ในการสมัคร ผู้สมัครจะต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานดังนี้

(๑)       ใบสมัคร (ดำเนินการตามข้อ ๔.๒) แต่ละสำเนาให้ติดรูปถ่ายขนาด ๒ นิ้วถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ รูป

(๒)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 

(๓)       สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล / ใบทะเบียนสมรส (ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ - สกุล) 

(๔)       สำเนาใบแสดงผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สมัครที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ให้ส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาจนถึงปีปัจจุบัน พร้อมหนังสือรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ ก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗

(๕)       สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

(๖)       สำเนาหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือหนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ ๓ หรือหนังสือรับรองการปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค ๔๒ เดือน (เฉพาะการสมัครสาขาประเภทที่ ๓)

(๗)       สำเนาประกาศนียบัตร หรือหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะ (เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นไป ยกเว้นการสมัครสาขาประเภทที่ ๑)

(๘)       หนังสือจากต้นสังกัดอนุมัติให้เข้าฝึกอบรมและรับรองว่าจะทำสัญญาเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว (เฉพาะผู้สมัครที่มีต้นสังกัดส่งฝึกอบรม) โดยใช้แบบหนังสือรับรองต้นสังกัดตามแบบที่กำหนด

ผู้สมัครจะต้องจัดทำใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นแยกเป็นชุดๆจำนวนมากกว่าจำนวนสถาบันฝึกอบรมที่จะเลือกสมัครชุดเมื่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ได้รับแล้วจะจัดส่งให้กับสถาบันฝึกอบรมที่ผู้สมัครเลือกทุกแห่งๆ ละชุดและเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สำนักงานฯชุด  เอกสารที่ถ่ายสำเนาให้ผู้สมัครเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับด้วย

๔.๕      การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใบสมัคร

เมื่อกรอกใบสมัครและยื่นพร้อมหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่แล้ว จะขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใบสมัครมิได้

๕.         การพิจารณาคัดเลือก

สถาบันฝึกอบรมจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครตามแนวทางดังนี้

๕.๑      สถาบันฝึกอบรมจะพิจารณาให้สิทธิ์กับผู้สมัครที่มีต้นสังกัดก่อนผู้สมัครอิสระ และให้ความสำคัญของคุณสมบัติต่อไปนี้ตามลำดับ

ลำดับที่   ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่น้อยกว่า ๓ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ลำดับที่   ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่น้อยกว่า ๒ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ลำดับที่   ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่น้อยกว่า ๑ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

๕.๒      ถ้ามีตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านว่างจากการสละสิทธิ์หรือเหตุอื่นใด ผู้ที่อยู่ในรายชื่อสำรองของสาขานั้นๆ จะได้รับการพิจารณาตามลำดับที่สถาบันฝึกอบรมได้จัดอันดับไว้เพื่อเข้าแทนในตำแหน่งที่ว่าง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกไว้ในสาขาใดสาขาหนึ่งแล้ว และในกรณีที่มิได้มีการจัดรายชื่อสำรองไว้ สถาบันฝึกอบรมนั้นอาจพิจารณารับจากรายชื่อผู้สมัครอันดับสำรองของสาขานั้นๆ จากสถาบันอื่นๆ ตามลำดับ ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้สมัครนั้นด้วย

๖.         การประกาศผลการคัดเลือก

รอบที่   ก่อนวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗

รอบที่   ก่อนวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗

๗.       กำหนดการรายงานตัวและเริ่มการฝึกอบรม

ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องรายงานตัวตามวันและเวลาที่แพทยสภากำหนด และเริ่มการฝึกอบรมตามวันและเวลาที่สถาบันฝึกอบรมกำหนด

๘.         การจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในกรณีผู้ได้รับการคัดเลือกแล้วขาดจากการฝึกอบรม

คณะกรรมการแพทยสภาจะพิจารณาจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในปีการฝึกอบรมถัดไป ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วขาดการฝึกอบรม ในกรณีต่อไปนี้

๘.๑      ไม่มารายงานตัว ณ สถาบันฝึกอบรมตามกำหนดเวลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

๘.๒      ลาออกจากการฝึกอบรมหลังจากยืนยันการตอบรับการเป็นแพทย์ประจำบ้านหรือเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

๘.๓      เปลี่ยนต้นสังกัดหรือลาออกจากราชการ (ในกรณีที่มีต้นสังกัด) ในระหว่างฝึกอบรม

๙.         การเปลี่ยนสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรม

การเปลี่ยนสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรมภายหลังจากที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ต้องได้รับอนุมัติจากอนุกรรมการบริหารแพทยสภา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนดไว้

๑๐.      พันธะของผู้สมัครที่มีต้นสังกัด

ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดที่ได้รับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้าน  ถ้าออกจากราชการหรือเปลี่ยนต้นสังกัด ให้ถือว่าผู้นั้นสิ้นสุดการเป็นแพทย์ประจำบ้าน นับแต่วันที่การเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลใช้บังคับ

 

หมายเหตุ:

ก.      ผู้สมัครทุกคนจะต้องรับผิดชอบตรวจสอบใบสมัคร เอกสาร และคุณสมบัติของตนเองให้ถูกต้อง ครบถ้วนหากตรวจพบในภายหลังว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนจะถือว่าการสมัครเป็นโมฆะถึงแม้จะประกาศผลการคัดเลือกแล้วก็ตามและแพทยสภาจะไม่คืนเงินค่าสมัครและไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้น

ข.      ต้นสังกัดหมายถึง หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับของรัฐ สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นที่คณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาให้ความยินยอมเป็นกรณีไป

 

จำนวนตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านของสาขาต่างๆที่สถาบันฝึกอบรมจะรับสมัครในปีการศึกษา 2557 รอบที่ 1



Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต