กระบวนวิธีการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ของนักศึกษาแพทย์ชาวไทยในสถาบันผลิตแพทย์ต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- แพทยสภาอนุโลมให้การเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์ในแต่ละชั้นปีของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศที่แพทยสภารับรองเป็นไปตามวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สถาบันฯ นั้นๆ กำหนด เช่น การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ หรือการกลับไปศึกษาต่อในภายหลัง แต่ยังไม่อนุมัติให้นักศึกษาแพทย์กลับมาฝึกปฏิบัติงานในชั้นปีสุดท้ายในประเทศไทย
- ในอนาคตหากสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศปรับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยระบบ online หรือวิธีอื่นๆ ต้องเสนอหลักสูตรให้แพทยสภาพิจารณารับรองก่อน ทั้งนี้ผู้ที่เข้าศึกษาจะต้องเรียนตลอดหลักสูตร ณ ประเทศที่เข้าศึกษาเท่านั้น
การขอกลับมาศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
- ตามที่แพทยสภาได้มีมติรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ โดยนักศึกษาต้องศึกษาตลอดหลักสูตรในประเทศที่เข้าศึกษานั้น เนื่องจากนักศึกษาแพทย์ชาวไทยที่ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสถาบันผลิตแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง ประสงค์จะกลับมาศึกษาวิชาเลือก(elective) ในประเทศไทย โดยนับเป็นหน่วยกิตเพื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
- แพทยสภาอนุญาตให้ศึกษาในประเทศไทยได้เฉพาะรายวิชาเลือก(elective) ที่ระบุไว้ในหลักสูตรฯเท่านั้น โดยนักศึกษาต้องแสดงหลักฐานต่อสถาบันการศึกษา/ โรงพยาบาลต่างๆ ดังนี้
1. หนังสือระบุข้อมูลรายวิชาเลือกที่จะขอกลับมาศึกษามายังสถาบันฯในประเทศไทย
2. หนังสือส่งตัวจากสถาบันที่ตนกำลังศึกษาในต่างประเทศให้กลับมาศึกษาวิชาเลือก(elective) โดยสามารถนับเป็นรายวิชา/หน่วยกิตเพื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรได้
- การพิจารณารับนักศึกษาฯมาฝึกปฏิบัติงานนอกหลักสูตร/เสริมหลักสูตร โดยไม่นับเป็นหน่วยกิตเพื่อจบการศึกษา จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจสูงสุดของสถาบัน
ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ