แพทยสภาจัดประชุมวิชาการโครงการ “ชวนหมอรู้” ครั้งที่ 5 ตอน “ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ “practical point in drug allergy for physicians”...

: 14 ต.ค. 65     : แพทยสภา


แพทยสภาจัดประชุมวิชาการโครงการ “ชวนหมอรู้”  ครั้งที่ 5
ตอน “ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ 
“practical point in drug allergy for physicians”

............................................



      เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-16.00น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึกศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แพทยสภาจัดงานประชุมวิชาการโครงการ  “ชวนหมอรู้”  ครั้งที่ 5 ตอน “ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ “practical point in drug allergy for physicians” โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์  นายกแพทยสภา เป็นประธานเปิดการประชุม และ พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของโครงการ
      ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์  นายกแพทยสภา กล่าวว่า ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การฟ้องร้องแพทย์ ได้ขยายเป็นวงกว้างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากโลกปัจจุบันที่ไร้พรมแดน โลกของ internet และ social media  ทั้งที่มาร้องเรียนแพทย์ที่แพทยสภา ร้องเรียนทางศาลและศาลปกครอง จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้สถานพยาบาลไม่เพียงพอในการรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีแนวทางปรับการรักษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยให้กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ สามารถกักตัวรักษาได้ที่บ้าน ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ พยาบาล ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลสนาม สามารถบริหารจัดการเตียงให้กับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้ สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่สามารถกักตัวได้ที่บ้านได้ ตามดุลยพินิจของแพทย์ และผู้ป่วยยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัดด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เพื่อให้แพทย์ได้องค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการ ทำอย่างไรเมื่อแพทย์โดนฟ้องได้อย่างถูกต้อง  แพทยสภาจึงจัดให้มีการประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้” ครั้งที่ 5/2565 ขึ้นในวันนี้
      และ พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการชวนหมอรู้ ครั้งที่ 5/2565 ว่า สถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าการฟ้องร้องแพทย์กับผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงของความขัดแย้งมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากโลกที่ไร้พรมแดนและปัญหามีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ผู้ป่วยมีความคาดหวังต่อการรักษาของแพทย์มากขึ้น ขณะที่แพทย์ผู้ให้การรักษาก็มีภาระงานที่มากและเหนื่อยล้า
      สำหรับสถานการณ์การฟ้องร้องของแพทยสภานั้น จากสถิติปี 2558 จนถึงข้อมูล ณ พ.ค. 2565 พบว่ามีทั้งสิ้น 1,369 คดีที่แพทยสมาคมให้ความช่วยเหลือทั้งแพ่งและอาญา  ปี 63 รวม 12 คดี ปี 64 รวม 10 คดี ปี 65 (ถึงเดือนตุลาคม) รวม 8 คดีคดีที่มาร้องเรียนต่อแพทยสภาและฟ้องร้องต่อศาลส่วนหนึ่งนั้น สาเหตุมาจากความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์และผู้ป่วย  ผู้ป่วยมีความคาดหวังในผลการรักษามาก  ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อแพทย์ถูกฟ้อง แพทย์ส่วนมากมักไม่มีเวลาในการแก้ต่าง เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจถึงขั้นตอนกระบวนการฟ้องร้องว่าจะต้องทำอย่างไร เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วค่อยมาชี้แจง คำชี้แจงนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นคำแก้ตัวไป ปัจจุบันนี้เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีความรู้มากขึ้น ทำอย่างไรจะสร้างความเข้าใจหรือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยหรือญาติ ในเรื่องของวิธีการ รักษา ขั้นตอนการรักษา ผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นนี้  
      ดังนี้แพทยสภาในฐานะเป็นองค์กรที่ควบคุมดูแลให้การปฏิบัติงานของแพทย์อยู่ในกรอบที่ถูกต้องของมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม  จึงได้จัดให้มี โครงการประชุม “ชวนหมอรู้” เพื่อให้แพทย์ได้ทำเข้าใจในบทบาทของแพทยสภาให้ถูกต้อง  เมื่อถูกฟ้องร้องจะทำอย่างไร
      - ความเป็นสมาชิกแพทยสภาจะสิ้นสุดลงหรือไม่อย่างไร ส่งผลให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อไปได้หรือไม่ แพทย์จึงควร ระมัดระวังไม่กระทำการใด อันเป็นความผิดอาญาที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ 
      ในคดีทางอาญาผู้ต้องหาก็ยังมีสิทธิตามกฎหมาย ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพที่จะขอประกันตัวและต่อสู้คดีได้หากผลที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายเป็นเหตุ แทรกซ้อนที่เกิดขึ้นโดยมิอาจคาดหมายได้ย่อมไม่เป็นความผิดอาญา 
      - สำหรับการฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งในเรื่องละเมิดนั้น หากเป็นบุคลากรในภาครัฐ ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
      แพทยสภา จึงได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ ในโครงการ “ชวนหมอรู้” “ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง และ practical point in drug allergy for physicians” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิในสายงานอัยการและแพทยสภา ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง “ความรู้สำหรับ แพทย์โดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากแพทยสภา” โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา  เรื่อง “ความรู้สำหรับ แพทย์เมื่อโดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากอัยการ” โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ อัยการประจำ สำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง “เสวนา ความรู้ทางกฎหมาย สำหรับที่แพทย์ต้องทราบ“ โดย รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ รองเลขาธิการแพทยสภา,  รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา,ผศ.นพ.ต่อพล วัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ร่วมกับนาย อังคาร เพชรอาวุธ อัยการประจำ สำนักงานอัยการสูงสุด และเรื่อง “practical point in drug allergy for physicians” โดย รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
      แพทยสภาขอขอบพระคุณวิทยากรและร่วมผู้สนับสนุนกิจกรรมของแพทยสภาทุกท่านโดยหวังว่าการจัดประชุมวิชาการโครงการหมอชวนรู้ ครั้งที่ 5/2565 นี้ จะเป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป

















 



Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต