เริ่มแล้วมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ ๒๕๕๗ (Thailand Medical Expo 2014)
: 27 พ.ย 57 : แพทยสภา
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2557 เวลา 13.30 น. ห้องประชุม Grand Hall ศูนย์นิทรรศการและการ
ประชุมไบเทค บางนา งาน“มหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ ๒๕๕๗ (Thailand Medical Expo 2014)”
ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการงาน “มหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ ๒๕๕7 (Thailand Medical Expo 2014)”และการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของแพทยสภามีการมอบเกียรติบัตร เข็มเกียรติคุณ ให้นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 และมีการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาฯ ทั้ง 10 กลุ่ม
ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาเปิดเผยว่าวันที่ 9 ตุลาคม 2557
ถือเป็นวันครบรอบสถาปนา 46 ปีของแพทยสภา ซึ่งแพทยสภา ถือกำเนิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวช
กรรม พ.ศ. 2511 โดยวัตถุประสงค์ของแพทยสภาคือ
(1) ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(2) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการแพทย์
(3) ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก
(4) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
(5) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข
(6) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยรวมทั้ง แพทยสภามีอำนาจหน้าที่คือ
(1) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(2) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(3) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ
(4) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์
(5) รับรองวิทยะฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
(6) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ
วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาชีพเวชกรรม
งานของแพทยสภาที่ได้ดำเนินการมาและต้องทำต่อไปมีจำนวนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์ต้องมีแพทยสภาร่วมอยู่ด้วยเสมอ แพทยสภาจึงต้องดูแลทั้งแพทย์และประชาชน สมดังคำขวัญแพทยสภาที่ว่า “แพทยสภายุคใหม่ ยกคุณภาพแพทย์ไทย โปร่งใส ใส่ใจประชาชน”
และในปีนี้ "แพทยสภา"ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักธรรมาภิบาลตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดโครงการหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะท่านเลขาธิการสถาบันพระ ปกเกล้า ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในการจัดหลักสูตรตามหลักคิดว่า แนวทางในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศในยุคต่อไปต้องเกิดขึ้นอย่างโปร่งใส บนพื้นฐานคุณธรรมและการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
นายกแพทยสภา กล่าวต่อว่า แพทยสภา ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร
ธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง เปิดอบรมแล้วจำนวน 3 รุ่น โดยมีผู้เข้ารับการอบรมที่
เป็นแพทย์ ผู้บริหารทางการแพทย์สายสาธารณสุขในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน จำนวนรุ่นละ 120 คน โดยในวันนี้จะเป็นการมอบเกียรติบัตร เข็มเกียรติคุณ ให้นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วและมีการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึก ษาฯ ทั้ง 10 กลุ่ม
ทั้งนี้แพทยสภาขอขอบคุณ สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะที่เป็นสถาบันศึกษาด้านการเมือง การปกครอง
กฎหมายและเศรษฐศาสตร์อันดับสูงสุดของประเทศภายใต้รัฐสภา ในฐานะที่เป็นสถาบันที่ผลิตผู้บริหารระดับ
สูงหลากหลายสาขาและเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม จึงถือเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่ทั้งสองสถาบันจะได้บูรณาการ
องค์ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ แก่ผู้บริหารสายแพทย์และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในการสร้างความเจริญพัฒนาของประเทศไทยต่อไป
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา และผู้อำนวยการหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.)กล่าวว่า แพทยสภา ได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และกระทรวงสาธารณสุข และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 (ปธพ.2) จัดโครงการ “หน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ” ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 เมษายน2557 ที่โรงพยาบาลหัวหินโดยเปิด 18 คลินิกแพทย์เฉพาะทางโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จากหลายสถานพยาบาล ให้บริการตรวจรักษา ฟรี เนื่องจากหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง เป็นไปตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำรัสแก่คณะกรรมการแพทยสภาว่า “ให้อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสู่แนว คิดการจัดโครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จึงได้มีการจัดอย่างต่อเนื่องถึง 2 ครั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้บริการประชาชนด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงซึ่งผู้บริหารในหลักสูตรเป็นผู้ประสานงานและนำไปดูแลประชาชนภายใต้ชื่อแพทยสภาร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า 2) เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากอาจารย์แพทย์ไปยังแพทย์ในพื้นที่ 3) เป็นการฝึกการประสานร่วมแพทย์ทุกภาคส่วนจัดหน่วยแพทย์ขนาดใหญ่ระดับตติยภูมิเข้าไปช่วยเหลือโรงพยาบาลในพื้นที่ในลักษณะของโรงพยาบาลสนาม 4) เป็นการเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลพื้นที่และท้องถิ่นในการปรับเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อเป็นต้นแบบหากมีความจำเป็นต้องระดมกำลังแพทย์ในอนาคต ณ พื้นที่นั้น ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ต่อไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ยังได้กล่าวแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.2) ซึ่งจบการศึกษา แพทยสภาได้มอบเข็มเชิดชูเกียรติแพทยสภาให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อดีตนายกแพทยสภา อดีตเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสภา วาระปัจจุบัน และมอบเข็มเกียรติคุณ ปธพ. ให้กับ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มอบโล่ นักศึกษาดีเด่น มอบเข็มเกียรติคุณ และเกียรติบัตรให้กับนักศึกษา ปธพ.1 จำนวน 120 ท่าน รวมทั้งมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ให้การสนับสนุนหลักสูตรฯ
หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเป้าประสงค์ที่จะสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของวงการแพทย์ไทย ซึ่งนานาอารย ประเทศได้ชื่นชมประเทศไทยในความสำเร็จทั้งด้าน Medical Hub และ Universal Coverage อย่างไรก็ตามยังคงมีความท้าทายอีกมากในการพัฒนาวงการแพทย์วงการสาธารณสุขของประเทศไทย ให้เกิดความยั่งยืนและสมดุล หลักสูตรนี้จะเป็นเวทีที่ช่วยเสริมการพัฒนาดังกล่าว ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล ซึ่งในรุ่น 2 นี้แพทยสภาได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญในบ้านเมือง มาร่วมเป็นนักศึกษาในหลักสูตร นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารทางการแพทย์ระดับสูงจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนมาร่วมชั้นเรียนเป็นเวลา 5 เดือน และในวันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่นักศึกษาทั้ง 10 กลุ่ม จะได้ทั้งร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขไทยและสังคมต่อท่านสภานายกพิเศษ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)เป็นครั้งแรก
หมายเหตุ :ผลการวิจัย (ฉบับย่อ)ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันพระปกเกล้าแล้ว (มีเอกสารฉบับเต็มแจกผู้เข้าร่วมงานที่สนใจ และสื่อมวลชน)
กลุ่มวิชาการที่ 1การคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ทุกสิทธิ ด้วยการเพิ่มเติมมาตรา 41
ใน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๕
กลุ่มวิชาการที่ 2 การคุ้มครองผู้รับบริการในสถานพยาบาล :กรณีศึกษาสถานพยาบาลเสริมความงาม
กลุ่มวิชาการที่ 3ความพร้อมในการนำระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติ
(Pay for Performance) มาใช้ในประเทศไทย
กลุ่มวิชาการที่ 4 แนวทางการแก้กฎหมายฟ้องร้องทางอาญาคดีทางการแพทย์
กลุ่มวิชาการที่ 5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
(กรณีศึกษา : ชุมชนในจังหวัดชลบุรีและกาญจนบุรี)
กลุ่มวิชาการที่ 6 ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล: แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
กลุ่มวิชาการที่ 7 การผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย
กลุ่มวิชาการที่ 8 ธรรมาภิบาลกับการบริหารทางการแพทย์สำหรับแรงงานต่างประเทศในประเทศไทย
(กรณีศึกษา : อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร)
กลุ่มวิชาการที่ 9 การบูรณาการให้บริการและการชดเชยค่าบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในของระบบ
ประกันสุขภาพสามกองทุน
กลุ่มวิชาการที่ 10 การเปิดการอบรมแพทย์ประจำบ้านโดยโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย