ประกาศการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙

: 11 ต.ค. 58     : แพทยสภา


ประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
ที่ ๒๘ /๒๕๕๘
เรื่อง การรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙

 


แพทยสภาจะดำเนินการให้มีการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาต่างๆ ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ โดยมีกำหนดการและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

๑.ประเภทสาขาและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาประเภทต่างๆ

๑.๑.สาขาประเภทที่ ๑หมายถึง สาขาที่แพทยสภาต้องการส่งเสริมให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุน แต่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะครบถ้วน ตามที่แพทยสภากำหนดก่อน ทั้งนี้แพทยสภาอาจพิจารณายกเว้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อนในบางสาขาก็ได้

๑.๑.๑.สาขาที่แพทยสภาพิจารณายกเว้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อน ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       พยาธิวิทยากายวิภาค

(๒)       พยาธิวิทยาคลินิก

(๓)       พยาธิวิทยาทั่วไป

(๔)       เวชศาสตร์ครอบครัว

๑.๑.๒.สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       จิตเวชศาสตร์

(๒)       จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

(๓)       นิติเวชศาสตร์

(๔)       รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

(๕)       เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

(๖)       เวชศาสตร์นิวเคลียร์

(๗)       อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

(๘)       อายุรศาสตร์โรคเลือด

เฉพาะปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ กรณีผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อนวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาประเภทที่ ๑ ดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก็ได้

 

๑.๒.สาขาประเภทที่ ๒หมายถึง สาขาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ๑ ปี และได้ปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามจำนวนปีที่แพทยสภากำหนด

๑.๒.๑.สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       ประสาทศัลยศาสตร์

(๒)       รังสีวิทยาวินิจฉัย

(๓)       โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

(๔)       วิสัญญีวิทยา

(๕)       เวชศาสตร์ฟื้นฟู

(๖)       ศัลยศาสตร์

(๗)       ศัลยศาสตร์ทรวงอก

(๘)       สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

๑.๒.๒.สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งมีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       กุมารเวชศาสตร์

(๒)       กุมารศัลยศาสตร์

(๓)       ประสาทวิทยา

(๔)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา)

(๕)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์การบิน)

(๖)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก)

(๗)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสาธารณสุขศาสตร์)

(๘)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสุขภาพจิตชุมชน)

(๙)       เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงอาชีวเวชศาสตร์)

(๑๐)  เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล)

(๑๑)  ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

(๑๒)  โสต ศอ นาสิกวิทยา

(๑๓)  ออร์โธปิดิกส์

(๑๔)  อายุรศาสตร์

๑.๒.๓.สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งมีต้นสังกัดจาก หน่วยงานของรัฐ และได้ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีก ๑ ปีแล้ว (ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา ๒ ปี) มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       จักษุวิทยา

๑.๒.๔.สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งได้ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีก ๒ ปีแล้ว (ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา ๓ ปี) มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       สาขาตามข้อ ๑.๒.๒และ ๑.๒.๓ในกรณีที่ไม่มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐ

(๒)       ตจวิทยา

(๓)       ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

 

๑.๓.สาขาประเภทที่๓ หมายถึง อนุสาขาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมหรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯ ในสาขาที่เป็นสาขาหลักก่อนแล้วมีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในอนุสาขาดังต่อไปนี้

(๑)       กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา

(๒)       กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

(๓)       กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา

(๔)       กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

(๕)       กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

(๖)       กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

(๗)       กุมารเวชศาสตร์โรคไต

(๘)       กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ

(๙)       กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

(๑๐)  กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ

(๑๑)  กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

(๑๒)  กุมารเวชศาสตร์โภชนาการ

(๑๓)  การระงับปวด

(๑๔)  ภาพวินิจฉัยชั้นสูง

(๑๕)  ภาพวินิจฉัยระบบประสาท

(๑๖)  โภชนศาสตร์คลินิก

(๑๗)  มะเร็งวิทยานรีเวช

(๑๘)  รังสีร่วมรักษาของลำตัว

(๑๙)  รังสีร่วมรักษาระบบประสาท

(๒๐)  วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก

(๒๑)  วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท

(๒๒)  วิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก

(๒๓)  เวชบำบัดวิกฤต

(๒๔)  เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

(๒๕)  เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

(๒๖)  เวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

(๒๗)  ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า

(๒๘)  ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา

(๒๙)  ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

(๓๐)  ศัลยศาสตร์หลอดเลือด

(๓๑)  ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ

(๓๒)  อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม

(๓๓)  อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

(๓๔)  อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

(๓๕)  อายุรศาสตร์โรคไต

(๓๖)  อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก

(๓๗)  อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

(๓๘)  อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

(๓๙)  อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

(๔๐)  อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ

(๔๑)  พยาธิสูตินรีเวชวิทยา

(๔๒)  ตจพยาธิวิทยา

 

๒.กำหนดเวลาการรับสมัคร:วันที่ ๑๒ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘

 

๓.     จำนวนตำแหน่ง/สถาบันฝึกอบรมที่เปิดรับสมัคร และเกณฑ์/วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙

๓.๑.       จำนวนตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านสาขาและอนุสาขาต่างๆ และจำนวนที่สถาบันรับฝึกอบรมได้ สำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ ตามผนวกแนบท้ายประกาศนี้

๓.๒.       เกณฑ์/วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ ให้เป็นไปตามที่ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลแต่ละสาขา/อนุสาขา ประกาศกำหนด

 

๔.เงื่อนไขและวิธีการสมัคร

๔.๑. วิธีการสมัคร:

๔.๑.๑.กรอกข้อมูลในใบสมัครของราชวิทยาลัยให้ครบถ้วน

๔.๑.๒.ยื่นใบสมัครที่ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลการฝึกอบรมสาขา/อนุสาขานั้นๆ ประกาศกำหนดตามรายละเอียดในตารางท้ายประกาศนี้โดยเลือกสาขา/อนุสาขาเพียงหนึ่งสาขา และสถาบันฝึกอบรมได้ตามจำนวนที่ราชวิทยาลัยนั้นกำหนด แต่ไม่เกินห้าแห่ง

๔.๒.เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการสมัคร:ในการสมัคร ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานซึ่งจัดทำเป็นไฟล์ตั้งชื่อด้วยเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังต่อไปนี้

๔.๒.๑.ใบสมัคร (ดำเนินการตามข้อ ๔.๑.๑) พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงในกรอบที่กำหนด (ขนาด ๒ นิ้ว) ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ รูป

๔.๒.๒.หลักฐานแสดงคุณสมบัติบุคคล ได้แก่

(๑)สำเนาบัตรประชาชน (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_บัตรประชาชน.pdf)

(๒)สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_เปลี่ยนชื่อ.pdf) / ใบทะเบียนสมรส (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_ทะเบียนสมรส.pdf) เฉพาะในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ - สกุล

(๓)สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สมัครที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ให้ส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาจนถึงปีปัจจุบัน พร้อมหนังสือรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ ก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_Transcript.pdf)

(๔)สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_License.pdf)

(๕)สำเนาประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะหรือหลักฐานแสดงว่ากำลังอยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_Intern.pdf) เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ยกเว้นการสมัครตามข้อ ๑.๑

(๖)หนังสือจากต้นสังกัดอนุมัติให้เข้าฝึกอบรมและรับรองว่าจะทำสัญญาเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว (เฉพาะผู้สมัครที่มีต้นสังกัดส่งฝึกอบรม) โดยใช้แบบหนังสือรับรองต้นสังกัดตามแบบที่กำหนด (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_ต้นสังกัด.pdf)ยกเว้นผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับต้นสังกัดเพื่อเข้าศึกษาฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

(๗)หนังสือแสดงประวัติส่วนบุคคล การศึกษาฝึกอบรม ผลงานวิชาการ และกิจกรรมพิเศษ (curriculum vitae) ของผู้สมัคร (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_CV.pdf)

(๘)สำเนาหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือหนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้าน หรือการปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ ในส่วนภูมิภาคชั้นปีสุดท้าย (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_board.pdf)  เฉพาะการสมัครในข้อ ๑.๓

(๙)หนังสือแถลงเจตจำนงส่วนบุคคล (personal statement of purpose)ของผู้สมัครในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านในแผนการฝึกอบรม (สาขา/อนุสาขา และสถาบัน) นั้น (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_psp.pdf)

๔.๒.๓.หนังสือรับรอง/แนะนำผู้สมัคร ซึ่งผู้รับรอง/แนะนำส่งให้แก่ราชวิทยาลัยโดยตรง ดังต่อไปนี้

(๑)       อาจารย์โรงเรียนแพทย์ที่ผู้สมัครศึกษา (สถาบันฝึกอบรมสาขาหลักในกรณีอนุสาขา)

(๒)       ผู้บังคับบัญชาในปัจจุบัน

(๓)       บุคคลอื่นที่เชื่อถือได้ตามที่ราชวิทยาลัยนั้นกำหนด

๔.๒.๔.เอกสารหลักฐานอื่นที่ราชวิทยาลัยกำหนดเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องจัดทำใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นตามที่กำหนดข้างต้นแล้วจัดส่งให้แก่

ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลสาขา/อนุสาขานั้นตามวิธีการที่ราชวิทยาลัยนั้นประกาศกำหนด

แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ ที่ได้ลงทะเบียนแล้วในเดือนกันยายน 2558ไม่มีสิทธิสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559หากสมัครซ้ำ ให้แพทย์ผู้นั้นหมดสิทธิทั้งการปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ และการสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559

 

๕.     การคัดเลือก:

๕.๑.แพทยสภามีนโยบายให้ราชวิทยาลัยกำกับดูแลให้สถาบันฝึกอบรมพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครโดยให้สิทธิ์แก่ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐก่อนผู้ไม่มีต้นสังกัด และให้ความสำคัญแก่ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมานานกว่าก่อนตามลำดับต่อไปนี้

๕.๑.๑.ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับแรก

๕.๑.๒.ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับถัดจาก ๕.๑.๑

๕.๑.๓.ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับถัดจาก ๕.๑.๒

๕.๒.ราชวิทยาลัยที่รับผิดชอบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นตรวจสอบเอกสารหลักฐานและคุณสมบัติผู้สมัครให้ถูกต้องตามเกณฑ์หลักสูตรฯ สาขา/อนุสาขานั้นกำหนด และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559พร้อมกำหนดการคัดเลือกภายในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

๕.๓.ราชวิทยาลัยที่รับผิดชอบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นประสานให้แต่ละโปรแกรมการฝึกอบรมดำเนินกระบวนการสอบ/สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกแพทย์ผู้สมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559 ตามกำหนดการที่ประกาศในข้อ ๕.๒โดยใช้เกณฑ์และวิธีการที่สถาบันฝึกอบรม ร่วมกับราชวิทยาลัยและ อฝส. ที่รับผิดชอบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นกำหนด ภายในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

กรณีราชวิทยาลัยใดดำเนินการคัดเลือกแล้วเสร็จก่อนกำหนดตาม ๕.๓แล้วยังมีตำแหน่งการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านว่างอยู่ ราชวิทยาลัยนั้นอาจเปิดรับสมัครและดำเนินการคัดเลือกแพทย์เป็นแพทย์ประจำบ้านเพิ่มเติมก็ได้

 

๖.การแจ้งผลการคัดเลือกและการลงทะเบียนยืนยัน

๖.๑.ราชวิทยาลัยแต่ละแห่งส่งรายชื่อแพทย์ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านทุกสาขา/อนุสาขาที่กำกับดูแลประจำปีการฝึกอบรม 2559 ให้แก่แพทยสภาทางอีเมล์ postgradtmc@gmail.comและแจ้งให้แพทย์ผู้ได้รับการคัดเลือกทราบภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘

๖.๒.แพทย์ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านทุกสาขา/อนุสาขาในปีการฝึกอบรม 2559ลงทะเบียน (ด้วยตนเอง) ยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรม โดยกรอกข้อมูลในแบบลงทะเบียนผ่านทาง website www.resident.tmc.or.th/adminภายในวันที่ – ๑๕ มกราคม 255๙โดยปฏิบัติดังนี้

๖.๒.๑.แบบลงทะเบียน: ให้ใช้แบบลงทะเบียนของแพทยสภาซึ่งได้จัดทำไว้ที่ website http://resident.tmc.or.th (ใช้ Internet Explorer ในการกรอกเท่านั้น) เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลของตนเองในโปรแกรมการลงทะเบียนครบถ้วนแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย และสั่งพิมพ์เป็นไฟล์ pdfโดยตั้งชื่อด้วยเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังนี้ *****_ใบลงทะเบียน.pdfดังตัวอย่างเช่น “98765_ใบลงทะเบียน.pdf”

๖.๒.๒.เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการลงทะเบียน:ในการลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนต้องยื่นใบลงทะเบียนโดยดำเนินการตามข้อ ๖.๒.๑พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงในกรอบที่กำหนด (ขนาด ๒ นิ้ว) ถ่ายไม่เกิน

๖ เดือน จำนวน ๑ รูป พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติบุคคลซึ่งจัดทำเป็นไฟล์ตั้งชื่อด้วยเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังต่อไปนี้

(๑) สำเนาบัตรประชาชน (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_บัตรประชาชน.pdf)

(๒) สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_เปลี่ยนชื่อ.pdf) / ใบทะเบียนสมรส (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_ทะเบียนสมรส.pdf) เฉพาะในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ - สกุล

(๓) สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้ลงทะเบียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ให้ส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาจนถึงปีปัจจุบัน พร้อมหนังสือรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ ก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_Transcript.pdf)

(๔) สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_License.pdf)

(๕) สำเนาประกาศนีบัตรหรือหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะหรือหลักฐานแสดงว่ากำลังอยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_Intern.pdf) เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ยกเว้นการลงทะเบียนตามข้อ ๑.๑

(๖) หนังสือจากต้นสังกัดอนุมัติให้เข้าฝึกอบรมและรับรองว่าจะทำสัญญาเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว (เฉพาะผู้ลงทะเบียนที่มีต้นสังกัดส่งฝึกอบรม) โดยใช้แบบหนังสือรับรองต้นสังกัดตามแบบที่กำหนด (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_ต้นสังกัด.pdf)ยกเว้นผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับต้นสังกัดเพื่อเข้าศึกษาฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

(๗)สำเนาหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือหนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้าน หรือการปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ ในส่วนภูมิภาคชั้นปีสุดท้าย (ตั้งชื่อไฟล์เป็น *****_board.pdf)  เฉพาะการลงทะเบียนในข้อ ๑.๓

กรณีไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าวในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ให้ถือว่า ผู้นั้นสละสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรมในปี ๒๕๕๙

 

๖.๓.         กรณีมีตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านว่างจากการสละสิทธิ์หรือการไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒หรือเหตุอื่นใด ให้ราชวิทยาลัยดำเนินการคัดเลือกแพทย์ซึ่งไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรมไว้แล้วตามข้อ ๖.๒แล้วส่งรายชื่อให้แพทยสภา และให้แพทย์ดังกล่าวลงทะเบียนแทนตำแหน่งที่ว่างภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ทั้งนี้อาจพิจารณารับจากรายชื่อผู้สมัครอันดับสำรองสาขานั้นๆ ของสถาบันอื่น หรือสาขาอื่นตามลำดับก็ได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้สมัครนั้นด้วย

 

๗.     กำหนดการรายงานตัวและเริ่มการฝึกอบรม:

แพทย์ผู้ได้ลงทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒และ ๖.๒.๑แล้ว ต้องรายงานตัวเข้ารับการฝึกอบรม ณ สถาบันฝึกอบรม และเริ่มการฝึกอบรมในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙

 

๘.     การจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในกรณีผู้ได้ลงทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒และ ๖.๒.๑แล้วขาดจากการฝึกอบรม

คณะกรรมการแพทยสภาจะพิจารณาจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในปีการฝึกอบรมถัดไป ในกรณีต่อไปนี้

๘.๑.ไม่มารายงานตัว ณ สถาบันฝึกอบรมตามกำหนดเวลาในข้อ ๗โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

๘.๒.ลาออกจากการฝึกอบรมหลังจากลงทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒และ ๖.๒.๑หรือเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

๘.๓เปลี่ยนต้นสังกัดหรือลาออกจากราชการ (ในกรณีที่มีต้นสังกัด) ในระหว่างฝึกอบรมโดยให้ถือว่าผู้นั้นสิ้นสุดการเป็นแพทย์ประจำบ้าน นับแต่วันที่การเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลใช้บังคับด้วย

 

๙.     การเปลี่ยนสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรม:

แพทย์ผู้ได้ลงทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒และ ๖.๒.๑หรือเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว อาจขอเปลี่ยนสาขา/อนุสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรมได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันฝึกอบรมทั้ง ๒ ฝ่าย และ อฝส. สาขา/อนุสาขานั้น โดยอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกลางการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนดไว้

หมายเหตุ:

(๑)       ผู้สมัครทุกคนต้องรับผิดชอบตรวจสอบใบสมัคร เอกสาร และคุณสมบัติของตนเองให้ถูกต้อง ครบถ้วนหากตรวจพบในภายหลังว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จะถือว่าการสมัครนั้นเป็นโมฆะแม้ได้ประกาศผลการคัดเลือกแล้วก็ตาม และแพทยสภาจะไม่คืนเงินค่าสมัครและไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้น

(๒)       หน่วยงานของรัฐ ให้หมายรวมถึงหน่วยงานในกำกับของรัฐ และสภากาชาดไทย รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และองค์กรอื่นที่คณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาอนุมัติด้วย

(๓)       “ราชวิทยาลัย” หมายความว่า ราชวิทยาลัยและวิทยาลัยวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๒๑ (๓) (ฌ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ และให้หมายรวมถึงสมาคมวิชาชีพเวชกรรมที่แพทยสภามอบหมายให้กำกับดูแลตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์หลักสูตรด้วย

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘

(นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์)

เลขาธิการแพทยสภา


ผนวก ก. การยื่นใบสมัครและราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลการฝึกอบรมสาขา/อนุสาขาต่างๆ

สถานที่/รายละเอียดการยื่นใบสมัคร

สาขา/อนุสาขา

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี

เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

โทร. 0 2716 6200 -1

รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.thaipediatrics.org

กุมารเวชศาสตร์

กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา

กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา

กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

กุมารเวชศาสตร์โภชนาการ

กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

กุมารเวชศาสตร์โรคไต

กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ

กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี

เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

โทรศัพท์ 0 2718 0715 - 6

รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcopt.org

จักษุวิทยา

 

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

สำนักงานเลขาธิการ กองจิตเวชและประสาทวิทยา
ชั้น 15 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

315 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์/ โทรสาร 0 2640 4488

e-mail : rcpsych.th@gmail.com

รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcpsycht.org

จิตเวชศาสตร์

จิตเว

Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต