ประกาศการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ รอบที่ ๒...
: 15 ก.พ. 59 : แพทยสภา
ประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
ที่ ๕ /๒๕๕๙
เรื่อง การรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ รอบที่ ๒
************************************************************************
แพทยสภาจะดำเนินการให้มีการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาต่างๆ ประจำปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ โดยมีกำหนดการและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.1. สาขาประเภทที่ ๑ หมายถึง สาขาที่แพทยสภาต้องการส่งเสริมให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุน แต่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะครบถ้วน ตามที่แพทยสภากำหนดก่อน ทั้งนี้แพทยสภาอาจพิจารณายกเว้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อนในบางสาขาก็ได้
1.1.1. สาขาที่แพทยสภาพิจารณายกเว้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อน ในสาขาดังต่อไปนี้
1.1.2. สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้
เฉพาะปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ กรณีผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อนวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาประเภทที่ ๑ ดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะก็ได้
1.2. สาขาประเภทที่ ๒ หมายถึง สาขาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ๑ ปี และได้ปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามจำนวนปีที่แพทยสภากำหนด
1.2.1. สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้
1.2.2. สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งมีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐ มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้
1.2.3. สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งมีต้นสังกัดจาก หน่วยงานของรัฐ และได้ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีก ๑ ปีแล้ว (ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา ๒ ปี) มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้
1.2.4. สาขาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้วหรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งได้ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพิ่มอีก ๒ ปีแล้ว (ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา ๓ ปี) มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในสาขาดังต่อไปนี้
1.3. สาขาประเภทที่ ๓ หมายถึง สาขา/อนุสาขาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งผ่านการฝึกอบรมหรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯ ในสาขาที่เป็นสาขาหลักก่อนแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ดังต่อไปนี้
1.3.1. อนุสาขาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมหรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯ ในสาขาที่เป็นสาขาหลักก่อนแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ในอนุสาขาดังต่อไปนี้
1.3.2. สาขาประเภทที่ ๑ หรือ ๒ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านการฝึกอบรม หรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯ ในสาขาที่เป็นสาขาหลักก่อนแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ โดยได้รับยกเว้นการฝึกอบรมชั้นปีที่ ๑ เข้ารับการฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ ๒ ดังต่อไปนี้
1.3.3. สาขาประเภทที่ ๑ หรือ ๒ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านการฝึกอบรม หรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ หรือเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯ ในสาขาที่เป็นสาขาหลักก่อนแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ โดยได้รับยกเว้นการฝึกอบรมชั้นปีที่ ๑ และ ๒ เข้ารับการฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ ๓ ดังต่อไปนี้
2. กำหนดเวลาการรับสมัคร: รอบที่ ๒ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
3. จำนวนตำแหน่ง/สถาบันฝึกอบรมที่เปิดรับสมัคร และเกณฑ์/วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙
3.1. จำนวนตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านสาขาและอนุสาขาต่างๆ และจำนวนที่สถาบันรับฝึกอบรมได้ สำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ รอบที่ ๒ ตามผนวกแนบท้ายประกาศนี้
3.2. เกณฑ์/วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสำหรับปีการฝึกอบรม ๒๕๕๙ ให้เป็นไปตามที่ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลแต่ละสาขา/อนุสาขา ประกาศกำหนด
4.เงื่อนไขและวิธีการสมัคร
4.1. วิธีการสมัคร: ยื่นใบสมัครที่สถาบันฝึกอบรม หรือตามที่ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลสาขา/อนุสาขานั้นๆ กำหนด
4.2. เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการสมัคร: ในการสมัคร ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครของราชวิทยาลัยพร้อมเอกสารหลักฐานที่ราชวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด
ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องจัดทำใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นตามที่กำหนดข้างต้นแล้วจัดส่งให้แก่สถาบันฝึกอบรมตามวิธีการที่ราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลสาขา/อนุสาขานั้นประกาศกำหนด
แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน/แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ ที่ได้ขอขึ้นทะเบียนแล้วในเดือนมกราคม 255๙ ไม่มีสิทธิสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559 หากสมัครซ้ำ ให้แพทย์ผู้นั้นหมดสิทธิทั้งการปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ และการสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559
5. การคัดเลือก:
5.1. แพทยสภามีนโยบายให้ราชวิทยาลัยกำกับดูแลให้สถาบันฝึกอบรมพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครโดยให้สิทธิ์แก่ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐก่อนผู้ไม่มีต้นสังกัด และให้ความสำคัญแก่ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมานานกว่าก่อนตามลำดับต่อไปนี้
5.1.1. ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับแรก
5.1.2 ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับถัดจาก ๕.๑.๑
5.1.3 ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลำดับถัดจาก ๕.๑.๒
5.2 ราชวิทยาลัยที่รับผิดชอบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นตรวจสอบเอกสารหลักฐานและคุณสมบัติผู้สมัครให้ถูกต้องตามเกณฑ์หลักสูตรฯ สาขา/อนุสาขานั้นกำหนด และประกาศรายชื่อผู้ได้รับเข้ารับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2559
6. การแจ้งผลการคัดเลือกและการขอขึ้นทะเบียนยืนยัน
6.1. เมื่อสถาบันฝึกอบรมพิจารณารับผู้สมัครเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านในสาขา/อนุสาขาใดแล้ว ให้ส่งหนังสือขอรับผู้สมัครดังกล่าวเป็นแพทย์ประจำบ้าน พร้อมใบสมัครและเอกสารหลักฐานประกอบตามข้อ ๔ ไปยังราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขานั้น
6.2. เมื่อราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับผู้สมัครดังกล่าวเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว ให้ราชวิทยาลัยนั้นบันทึกการรับผู้สมัครดังกล่าว
6.3. แพทย์ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านทุกสาขา/อนุสาขาในปีการฝึกอบรม 2559 ขอขึ้นทะเบียน (ด้วยตนเอง) ยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรม โดยกรอกข้อมูลในแบบขอขึ้นทะเบียนผ่านทาง website http://tmc.or.th/tcgme/Students/Regis ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ราชวิทยาลัยซึ่งกำกับดูแลการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขานั้นบันทึกการรับผู้สมัครดังกล่าวตามข้อ ๖.๒ โดยปฏิบัติดังนี้
6.3.1. แบบขอขึ้นทะเบียน: ให้ใช้แบบขอขึ้นทะเบียนของแพทยสภาซึ่งได้จัดทำไว้ที่ website http://tmc.or.th/tcgme/Students/Regis เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลของตนเองในโปรแกรมการขอขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย
6.3.2. เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการขอขึ้นทะเบียน: ในการขอขึ้นทะเบียน ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องยื่นใบขอขึ้นทะเบียนโดยดำเนินการตามข้อ ๖.๓.๑ พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงในกรอบที่กำหนด (ขนาด ๒ นิ้ว) ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ รูป พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติบุคคล ซึ่งจัดทำเป็นไฟล์ตั้งชื่อด้วยเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
กรณีไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าวในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ให้ถือว่า ผู้นั้นสละสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรมในปี ๒๕๕๙
6.4. กรณีมีตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านว่างจากการสละสิทธิ์หรือการไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๓ หรือเหตุอื่นใด ให้สถาบันฝึกอบรมดำเนินการคัดเลือกแพทย์ซึ่งไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรมไว้แล้วตามข้อ ๖.๓ แล้วส่งรายชื่อให้ราชวิทยาลัยเพื่อส่งต่อไปยังแพทยสภา และให้แพทย์ดังกล่าวขอขึ้นทะเบียนแทนตำแหน่งที่ว่างภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ทั้งนี้อาจพิจารณารับจากรายชื่อผู้สมัครอันดับสำรองสาขานั้นๆ ของสถาบันอื่น หรือสาขาอื่นตามลำดับก็ได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้สมัครนั้นด้วย
7. กำหนดการรายงานตัวและเริ่มการฝึกอบรม:
แพทย์ผู้ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒ และ ๖.๓.๑ แล้ว ต้องรายงานตัวเข้ารับการฝึกอบรม ณ สถาบันฝึกอบรม และเริ่มการฝึกอบรมในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
8. การจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในกรณีผู้ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒ และ ๖.๓.๑ แล้วขาดจากการฝึกอบรม
คณะกรรมการแพทยสภาจะพิจารณาจำกัดสิทธิ์ในการสมัครแพทย์ประจำบ้านในปีการฝึกอบรมถัดไป ในกรณีต่อไปนี้
8.1 ไม่มารายงานตัว ณ สถาบันฝึกอบรมตามกำหนดเวลาในข้อ ๗ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
8.2 ลาออกจากการฝึกอบรมหลังจากขอขึ้นทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒ และ ๖.๓.๑ หรือเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
8.3 เปลี่ยนต้นสังกัดหรือลาออกจากราชการ (ในกรณีที่มีต้นสังกัด) ในระหว่างฝึกอบรม โดยให้ถือว่าผู้นั้นสิ้นสุดการเป็นแพทย์ประจำบ้าน นับแต่วันที่การเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลใช้บังคับด้วย
9. การเปลี่ยนสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรม:
แพทย์ผู้ได้ขอขึ้นทะเบียนยืนยันตามที่กำหนดในข้อ ๖.๒ และ ๖.๓.๑ หรือเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว อาจขอเปลี่ยนสาขา/อนุสาขาหรือย้ายสถาบันฝึกอบรมได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันฝึกอบรมทั้ง ๒ ฝ่าย และ อฝส. สาขา/อนุสาขานั้น โดยอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกลางการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนดไว้
หมายเหตุ:
ผนวก ก. การยื่นใบสมัครและราชวิทยาลัยที่กำกับดูแลการฝึกอบรมสาขา/อนุสาขาต่างๆ
สถานที่/รายละเอียดการยื่นใบสมัคร |
สาขา/อนุสาขา |
---|---|
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทร. 0 2716 6200 -1 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.thaipediatrics.org |
กม201 กุมารเวชศาสตร์ กม202 โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก กม301 กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา กม302 กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด กม303 กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา กม304 กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม กม305 กุมารเวชศาสตร์โภชนาการ กม306 กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม กม307 กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ กม308 กุมารเวชศาสตร์โรคไต กม309 กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ กม310 กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน กม311 กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ กม312 กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ |
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0 2718 0715 - 6 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcopt.org |
จษ201 จักษุวิทยา
|
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานเลขาธิการ กองจิตเวชและประสาทวิทยา 315 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/ โทรสาร 0 2640 4488 e-mail : rcpsych.th@gmail.com รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcpsycht.org |
จว101 จิตเวชศาสตร์ จว102 จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
|
ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์ ชั้น 11 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี โทรศัพท์ 0 2718 1996 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.neuro.or.th |
ปศ201 ประสาทศัลยศาสตร์ |
|
|
ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ตึก อปร. ชั้น 13 ภาควิชาพยาธิวิทยา เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0 2256 4000 ต่อ 3617 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcthaipathologist.org |
พธ101 พยาธิวิทยากายวิภาค พธ102 พยาธิวิทยาคลินิก พธ103 พยาธิวิทยาทั่วไป พธ104 นิติเวชศาสตร์ พธ301 ตจพยาธิวิทยา พธ302 พยาธิสูตินรีเวชวิทยา
|
ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0 2716 5963 - 4 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.rcrt.or.th |
รส101 รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รส102 เวชศาสตร์นิวเคลียร์ รส201 รังสีวิทยาวินิจฉัย รส301 ภาพวินิจฉัยชั้นสูง รส302 ภาพวินิจฉัยระบบประสาท รส303 รังสีร่วมรักษาของลำตัว รส304 รังสีร่วมรักษาระบบประสาท |
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0 2716 7220 โทรสาร 0 2716 7221 |
วส201 วิสัญญีวิทยา วส301 การระงับปวด วส302 วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก วส303 วิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก วส304 วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท |
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ชั้น 11 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0 2716 6651-2 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก www.thaifammed.org |
วค101 เวชศาสตร์ครอบครัว
|
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0 2716 6808 โทรสาร 0 2716 6809 รายละเอียดเฉพาะสาขาดูได้จาก http://rehabmed.or.th/ |
วฟ201 เวชศาสตร์ฟื้นฟู |
|
|
|
|
ราชวิทยาลัยศ
|