แพทยสภาจัดบรรยายพิเศษ “หมอชวนรู้” ครั้งที่ 1 เรื่อง อุบัติเหตุจราจร แก้ไขได้อย่างไรในมุมมองทางการแพทย์...

: 03 ก.พ. 65     : แพทยสภา


แพทยสภาจัดบรรยายพิเศษ “หมอชวนรู้” ครั้งที่ 1
เรื่อง อุบัติเหตุจราจร แก้ไขได้อย่างไรในมุมมองทางการแพทย์



      วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.50 - 11.00 น.   ณ ห้องประชุมเจตพงษ์ ชั้น 14 อาคาร มหิตลาธิเบศร ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เป็นประธานเปิดการบรรยายพิเศษ “หมอชวนรู้”ครั้งที่ 1 เรื่อง อุบัติเหตุจราจร แก้ไขได้อย่างไรในมุมมองทางการแพทย์ โดย  พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้กล่าวรายงาน และความเป็นมา ซึ่งมีวิทยากรร่วมบรรยาย ประกอบด้วย นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร เรื่อง “เวชศาสตร์การจราจรกับบทบาทการร่วมแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร”  นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน เรื่อง “จากเหตุสูญเสียบนทางม้าลายสะท้อนปัญหาอุบัติเหตุจราจรคนเดินเท้าในเมืองใหญ่อย่างไรบ้าง” นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา เรื่อง “สิทธิของคนเดินถนนและหน้าที่ของสังคมที่ต้องปกป้องคนเดินถนนในระบบสังคมและการเมืองไทย” นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาของ WHO ด้านการป้องกันการบาดเจ็บ พญ.ลลนา ก้องธรนินทร์ และ พญ.ธารทิพย์ ตันชวลิต ผู้แทนจากแพทย์ รามาธิบดี รุ่นที่ 42 กลุ่ม Rabbit Crossing เรื่อง “อุบัติเหตุจราจรคนเดินเท้า จะแก้ไขได้อย่างไรในสายตาของแพทย์ โดยมี นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และ นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้ดำเนินรายการ ผ่านทาง Facebook live เพจแพทยสภา

     แพทยสภาจัดงานบรรยายครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเวชศาสตร์ การจราจร เพื่อร่วมแก้ปัญหาอุบัติเหตุการจราจร พร้อมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความเสี่ยง ส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังหรือแชร์ภาพเมื่อพบเห็นรถไม่หยุดให้คนเดินข้ามทางม้าลาย ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการข้ามถนนโดยเฉพาะการประเมินความเสี่ยงของผู้ที่กำลังข้ามถนน ในสายตาแพทย์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมความปลอดภัยบนท้องถนนอีกทางหนึ่ง




Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต