โรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ
ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศและกลับมาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย ให้ดำเนินการและรับทราบข้อจำกัดดังนี้
การสอบ Long Case Examination และ Modified Essay Question จัดสอบที่โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งท่านสามารถเลือกสอบที่โรงเรียนแพทย์แห่งใดก็ได้ ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษาที่โรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งจะรับได้ด้วย ให้ศึกษารายละเอียดได้จาก www.cmathai.org
ทั้งนี้ เมื่อท่านสอบผ่านครบทุกขั้นตอนแล้ว ให้นำผลการสอบไปติดต่อศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา(ศรว.) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อออกใบรับรองสอบผ่านครบทุกขั้นตอนให้กับท่าน และเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการสมัครสมาชิกแพทยสภา(ภาคบังคับ)และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่แพทยสภา
หมายเหตุ จากเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่พึงประสงค์ที่ได้เกิดขึ้นกับนักศึกษาแพทย์ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาและแพทยสภาได้เข้าไปช่วยเหลือให้นักศึกษาได้เรียนครบตามมาตรฐานที่แพทยสภาได้เคยรับรองไว้ การเข้าไปช่วยเหลือและใช้วิธีการแก้ไขใดๆ ในอดีตจากแพทยสภาถือว่าเป็นการแก้ไขเฉพาะกาลเฉพาะตัวบุคคลเท่าที่มีข้อมูลจะอำนวยให้ นักศึกษาจะไม่สามารถนำกรณีดังกล่าวมาอ้างหรือเปรียบเทียบกับการให้แพทยสภาช่วยแก้ไขการเรียนการสอนของนักศึกษาที่ชะงักงันจากการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต หากมีเหตุการณ์ดังกล่าว นักศึกษาต้องรอและพยายามกลับไปศึกษาต่อให้เร็วที่สุดในโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่ตนลงทะเบียนไว้ตั้งแต่ปีแรก หากจะมีการแก้ไขวิธีการเรียนการสอนใด ๆ ที่จะนับเป็นชั่วโมงเรียนของนักศึกษาที่แตกต่างไปจากหลักสูตรที่ได้รับรองไว้ไม่ว่าจะจัดโดยโรงเรียนแพทย์ด้วยก็ตามจะต้องแจ้งวิธีการเรียนการสอนดังกล่าวมาให้แพทยสภารับรองก่อนเสมอ หากไม่แจ้งให้แพทยสภาทราบและแพทยสภายังไม่มีหนังสือแจ้งว่ารับรอง นักศึกษาจะไม่สามารถใช้วิธีการเรียนการสอนแบบอื่นนั้นมานับเป็นชั่วโมงการเรียนการสอนได้
อนึ่ง การไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ นักศึกษาต้องยอมรับว่า มีความเสี่ยงตลอดเวลาที่จะเรียนไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดจากสาเหตุหรืออุบัติการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนเลยรวมทั้งอาจจะเกิดสงคราม การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในต่างประเทศจนต้องปิดประเทศ ทำให้การเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก เลื่อนเวลาการเรียนการสอนออกไปอย่างมีหรือไม่มีกำหนด นักศึกษาต้องยึดถือหลักสูตรการเรียนการสอนที่แพทยสภาให้การรับรองตั้งแต่ท่านขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแพทย์ในปีที่ 1 และต้องยึดหลักการเรียนทางคลินิกในรูปแบบ face to face คือดูแลผู้ป่วยจริง แพทยสภาไม่รับรองการเรียนในรูปแบบ online นอกโรงเรียนแพทย์ในแต่ละชั้นปีหรือตลอดปีการศึกษา ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนที่แพทยสภาไม่รับรอง เช่น การให้นักศึกษาเรียน online ในประเทศไทยโดยทำการเชื่อมสัญญาณมาจากสถาบันต่างประเทศ (มองดูเหมือนว่า สถาบันเอาเปรียบนักศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนที่ต่ำกว่ามาตรฐานทั้ง ๆ ที่เก็บเงินค่าเล่าเรียนไปแล้ว)
นอกจากนี้ การมาเรียนในโรงพยาบาลในประเทศไทยโดยพละการหรือโดยโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศเป็นผู้จัดทำทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำ MOU กันไว้ก่อนและแพทยสภายังไม่ได้รับทราบการทำ MOU ฉบับนั้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์(หากมีการทำ MOU ต้องส่งเอกสารดังกล่าวมาแจ้งให้แพทยสภารับรองก่อนที่จะทำการส่งนักศึกษาไปเรียนที่โรงพยาบาลในประเทศไทย) นักศึกษาและโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศต้องแจ้งให้แพทยสภารับรองการเรียนการสอนนอกหลักสูตรก่อนที่นักศึกษาแพทย์จะไปเรียนหรือฝึกอบรมทุกครั้ง มิฉะนั้น การไปเรียนหรือฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรที่แพทยสภาให้การรับรองตั้งแต่เข้าเรียนในปีที่ 1 ของการศึกษา นักศึกษาจะไม่สามารถนับเป็นชั่วโมงเรียนในหลักสูตรได้ อาจจะถือได้เพียงว่าเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ส่วนตัวนอกหลักสูตรเท่านั้น
(ฉบับปรับปรุง วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน คลิก!! เพื่ออ่าน
ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร 6 ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น
นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้
การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน
แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้
คำเตือน เรื่องการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกที่โรงพยาบาลในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ คลิก!! เพื่ออ่าน
ตามที่แพทยสภาได้มีมติรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ ของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ และรับรองโรงพยาบาลร่วมสอนในระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในประเทศที่ศึกษา เนื่องจากการศึกษาในระดับคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่นับหน่วยกิตเพื่อจบการศึกษาด้วย แล้วนั้น
สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาขอแจ้งให้นักศึกษาทุกท่านทราบว่าจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ที่แพทยสภาได้ออกหนังสือรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ให้แล้ว
ทั้งนี้ หากแพทยสภาพบว่าท่านไม่ปฏิบัติตามโดยกลับมาฝึกปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือในประเทศอื่นๆ แพทยสภาจะไม่รับรองการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกของท่าน และจะไม่สามารถนำผลการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกในประเทศไทยหรือต่างประเทศไปใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้
บัญชี แพทยสภา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
เลขที่บัญชี 340 2 01174 4
คุณชุติมา วงษ์จันทร์ ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
ชั้น 12 อาคารมหิตลาธิเบศร ซอยสาธารณสุข 8 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02-590-1883, 086-0811208 e-mail: edu@tmc.or.th
ในกรณีที่สถาบันผลิตแพทย์ที่ท่านไปศึกษายังไม่ได้รับการรับรอง แพทยสภามีขั้นตอนดำเนินการพิจารณา ดังนี้
ขั้นตอนดำเนินการ
ยื่นคำขอใบแทนหนังสือรับรองปริญญาเป็นรายบุคคลของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ
ขั้นตอนดำเนินการ
หมายเหตุ กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ส่งเอกสารต่อไปนี้
รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง Download
ข้อมูลอัพเดทล่าสุด: ธันวาคม 2567
ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา โทรฯ 02-590-1883, 086-081-1208 e-mail : edu@tmc.or.th
FOLLOW US